Q-A

ประเด็นถาม-ตอบที่พบบ่อย

ผู้สมัครที่มีวุฒิปริญญาขั้นต่ำ วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ) หรือ วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ) แต่ไม่ใช่สาขาสิ่งแวดล้อม หรือ สุขาภิบาล มีสิทธิ์สอบหรือไม่?

ผู้สมัครมีสิทธิ์สอบ เมื่อผู้สมัครต้องมีวิชาเรียนทางด้านสิ่งแวดล้อม ไม่น้อยกว่า 18 หน่วยกิต หรือ ผู้สมัครต้องผ่านการฝึกอบรมหลักสูตรผู้ควบคุมระบบบำบัดมลพิษตามประเภทที่ สมัครสอบ จากหน่วยฝึกอบรมที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับรอง (หากหน่วยกิตด้านสิ่งแวดล้อมไม่ครบ หรือผ่านการอบรมจากหน่วยฝึกอบรมที่กรมโรงงานฯ ไม่รับรอง ผู้สมัครจะไม่มีสิทธิ์สอบทันที)

ผู้สมัครที่มีวิชาเรียนทางด้านสิ่งแวดล้อม มากกว่า 18 หน่วยกิต และ/หรือ ผ่านการฝึกอบรมที่กรมโรงงานอุตสาหกรรมรับรอง แต่มีวุฒิปริญญา เป็นด้านอื่นๆ ที่ไม่ใช่ วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ) หรือ วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ) มีสิทธ์สอบหรือไม่ ?

ไม่มีสิทธ์สอบ เพราะ คุณสมบัติขั้นต่ำของผู้สมัครต้องได้รับวุฒิ วท.บ หรือ วศ.บ เท่านั้น

ผู้สมัครที่มีวุฒิปริญญาขั้นต่ำ วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ) หรือ วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ) แต่ไม่ใช่สาขาสิ่งแวดล้อม หรือ สุขาภิบาล และมีวิชาเรียนทางด้านสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า 18 หน่วยกิต แต่กำลังเรียนต่อปริญญาโท/เอก ทางด้านสิ่งแวดล้อม แต่ยังไม่จบ (นับถึงวันส่งใบสมัครสอบวันสุดท้าย) มีสิทธิ์สอบหรือไม่?

ไม่มีสิทธ์สอบ เพราะกรมโรงงานฯ จะไม่นับหน่วยกิตที่ผ่านการสอบ ในระดับปริญญาโท/เอก หากยังไม่จบในระดับปริญญานั้นๆ

ผู้สมัครที่มีวุฒิปริญญาขั้นต่ำ วิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต (วศ.บ) หรือ วิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ) แต่ไม่ใช่สาขาสิ่งแวดล้อม หรือสุขาภิบาล และมีวิชาเรียนทางด้านสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า 18 หน่วยกิต และได้ฝึกอบรมกับหน่วยงานฝึกอบรมที่กรมโรงงานฯรับรอง แต่ผลการทดสอบจากหน่วยฝึกอบรมยังไม่ประกาศ หรือยังไม่ได้รับ ประกาศนียบัตรการผ่านการฝึกอบรม จากหน่วยฝึกอบรม ผู้สมัครมีสิทธ์สอบหรือไม่?

ไม่มีสิทธ์สอบในครั้งนี้ ผู้สมัครต้องได้รับการรับรองผ่านการฝึกอบรมจากหน่วยฝึกอบรมที่กรมโรงงานรับรองก่อน จึงจะสามารถสมัครได้

ทำไมผู้สมัครที่ผ่านการอบรมบางท่าน ถึงไม่ผ่านการพิจารณา?

เนื่องจากผู้สมัครไม่ผ่านการสอบจากหน่วยฝึกอบรม หรือ หน่วยฝึกอบรมนั้นๆ ไม่ได้รับการรับรองจากกรมโรงงานฯ ท่านสามารถตรวจสอบรายชื่อหน่วยฝึกอบรมที่กรมโรงงานฯ มีดังนี้

1.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี โดยสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อมสำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์
2.สถาบันน้ำและสิ่งแวดล้อมเพื่อความยั่งยืน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
3.มูลนิธิสถาบันสิ่งแวดล้อมไทย
4.มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์
5.สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
6.บริษัท เอ็นพีซี เซฟตี้ แอนด์ เอ็นไวรอนเมนทอล เซอร์วิส จำกัด
7.สมาคมพัฒนาความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมในการทำงาน
8.สมาคมส่งเสริมความปลอดภัยและอนามัยในการทำงาน (ประเทศไทย) ในพระราชูปถัมภ์
9.มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โดยคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
10.มหาวิทยาลัยรามคำแหง โดยศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจและจัดการทรัพย์สินทางปัญญาและสาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม คณะวิศวกรรมศาสตร์
11.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ โดยสำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่ออุตสาหกรรม